วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555


การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  (E-Learning)
วันนี้สิ่งที่เรียกว่า เทคโนโลยีการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต (e-Learning ) ได้พัฒนาล้ำหน้าไปอีกขั้น ปัจจุบันได้นำเสนอทางเลือกใหม่อันชาญฉลาดในการเรียนรู้ช่วยลดข้อด้อย และผสม
ผสานข้อดีของระบบการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนทางไกลเข้าไว้ด้วยกันอย่างน่าอัศจรรย์มีความยืดหยุ่นสูง ยิ่งไปกว่านั้นผู้เรียนยังสามารถเข้าถึงความรู้ในหลากหลายแขนงวิชา ตั้งแต่ภาษาต่างประเทศไปจนถึงวิศวกรรมศาสตร์ สามารถเรียนได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ไม่ต้องเดินทาง ทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนอุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็นมีเพียง 2 อย่างคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเว็บบราวเซอร์ ด้วยเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาล่าสุดนี้สามารถตอบสนองกระบวนการเรียนการสอนทางไกลได้เกือบครบทุกความต้องการ ดังเช่น
- การเรียนเดี่ยวด้วยตนเอง ซึ่งผู้เรียนสามารถกำหนดแผนการเรียนได้ด้วยตัวเอง
(Self-directed) โดยอาศัยสื่อการสอนจากอินเทอร์เน็ต ในระดับนี้จะไม่มีการตอบโต้กับผู้สอนหรือทำกิจกรรมกลุ่มกับผู้เรียนคนอื่นๆ แต่จะมีระบบติดตามพัฒนาการและประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้บริหารหลักสูตร ลักษณะการเรียนเช่นนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสะดวก และสามารถกำหนดกรอบเวลาช้าเร็วที่ใช้ในการเรียนได้เหมาะสมกับระดับความสามารถในการเรียนรู้          - การเรียนแบบนัดหมายเวลา (Synchronous ) ลักษณะการเรียนจะมีบรรยากาศ
ใกล้เคียงกับการเรียนในชั้นเรียนจริงๆ มากที่สุด(ต่างกันเพียงผู้เรียนนั่งอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น) ซึ่งไฮเทคถึงขั้นสามารถสร้างห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) ไว้บนเรียลไทม์อินเทอร์เน็ตได้ ช่วยให้มีความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนการสอนทางไกลเต็มรูปแบบ มีองค์ประกอบครบ ได้แก่ ตัวผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กัน มีสื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบโต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอนสามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการ ประเมินผลการเรียน รวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ แต่ผู้เรียนในชั้นและผู้สอนจะต้องนัดเวลาเรียนอย่างพร้อมเพรียง
- การเรียนแบบไม่ได้นัดหมายเวลา (Asynchronous Learning) จะรวมเอาลักษณะ
การเรียนด้วยตนเองกับการเรียนในระบบชั้นเรียนมาไว้บนอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถกำหนดแผนการเรียนของตนเอง เรียนโดยอาศัยสื่อการสอนจากอินเทอร์เน็ตแล้ว ผู้เรียนยังสามารถถามคำถาม ทำแบบฝึกหัด ทำรายงานกลุ่ม อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เรียนคนอื่นๆและเข้าสู่กระบวนการประเมินผล ซึ่งเหมาะกับหลักสูตรที่เน้นฝึกทักษะ การแก้ไขปัญหาสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา (Trend, 2543, 11-13)

ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง วิธีการเรียนการสอนในรูปแบบของไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ที่ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เป็นสื่อในการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ (Khan H. Badrul. 1997 : 6)

องค์ประกอบของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีองค์ประกอบ ดังนี้
1. การพัฒนาเนื้อหา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอน
1.2 การออกแบบระบบการสอน
1.3 การพัฒนาหลักสูตร
2. มัลติมีเดีย
2.1 ข้อความกราฟิก
2.2 ภาพเคลื่อนไหว
2.3 การออกแบบการปฏิสัมพันธ์
3. เครื่องมือในอินเทอร์เน็ต
3.1 เครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
- แบบไม่ได้นัดหมายเวลา (Asynchronous) เช่น จดหมายอิเล็คทรอนิกส์,
กลุ่มข่าว, ลิสเซิฟ (Listservs) เป็นต้น
- แบบนัดหมายเวลา (Synchronous) เช่น แบบตัวอักษร ได้แก่ Chat, IRC
- แบบเสียงและภาพ ได้แก่ Internet Phone, Net Meeting, Conference Tools
3.2 เครื่องมือในการเชื่อมต่อระยะไกล
- Telnet, File Transfer Protocol เป็นต้น
3.3 เครื่องมือช่วยนำทางในอินเทอร์เน็ต (ฐานข้อมูลและเว็บเพจ)
- Gopher, Lynx เป็นต้น
3.4 เครื่องมือช่วยค้นและเครื่องมืออื่น ๆ
- Search Engine, Counter Tool
4. เครื่องมือคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบ และซอฟต์แวร์
4.1 ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น Unix, Windows NT, Windows 98, Dos ฯลฯ
4.2 ซอฟต์แวร์ให้บริการเครือข่าย ฮาร์ดิสก์ ซีดีรอม เป็นต้น
5. อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
5.1 โมเด็ม
5.2 รูปแบบการเชื่อมต่อ ความเร็ว 33.6 Kbps, 56 Kbps, สายโทรศัพท์, ISDN, T1, Satellite เป็นต้น
5.3 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต , เกตเวย์
6. เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม
6.1 โปรแกรมภาษา (HTML : Hypertext Markup Language , JAVA ,
JAVA Script , CGI Script , Perl , Active X)
6.2 เครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรม เช่น FrontPage, FrontPage Express,
Hotdog, Home site เป็นต้น
7. ระบบให้บริการอินเทอร์เน็ต
7.1 HTTP Servers , Web Site , URL
7.2 CGI (Common Gateway Interface)
8. บราวเซอร์

การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต (e-Learning)

อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีส่วนกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในสังคมมากขึ้น สถาบันการศึกษาทุกแห่งให้ความสนใจในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น การเรียนการสอนในปัจจุบันจึงเปลี่ยนสภาพไปค่อนข้างมาก นิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนด้วยกันทั้งสิ้น การเรียนการสอนก็เหมือนกับธุรกิจทั่วไปที่ต้องปรับตัวให้ทันกับการแข่งขัน ปัจจุบันมีแหล่งความรู้เกิดขึ้นมากมาย มีสิ่งที่จะต้องเรียนต้องสอนมหาศาล ทำอย่างไรจึงจะลงทุนทางด้านการศึกษาน้อยแต่ได้ผลตอบแทนสูง การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการเรียนรู้จะทำได้อย่างไร การเรียนรู้สมัยใหม่ต้องใช้เวลาน้อย เรียนรู้ได้เร็ว มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน รวมถึงการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันตอบสนองต่อการประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น