วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555


การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา มีองค์ประกอบ 4 ประการหลัก ดังนี้

1. โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา จะต้องมีการวางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศให้ครบทุกตำบล ซึ่งอาจจะใช้โครงการอินเทอร์เน็ตตำบลที่รัฐบาลคิดจะทำ แต่จะให้อยู่ตามโรงเรียนต่าง ๆ ประจำตำบล และที่สำคัญที่สุด คือ รัฐบาลจะต้องให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะและบริการฟรี หรือในราคาที่ถูกที่สุด
2. เนื้อหาหลักสูตรและวิชาเรียน เนื้อหาสำหรับการศึกษาโดยทั่วๆ ไปนั้น กระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่างหลักสูตรสำหรับนักเรียนทั่วทั้งประเทศเป็นตำราเรียนมาแล้ว แต่ในเนื้อหาหลักสูตรที่จะให้มีการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตจะต้องมีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ และจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยตลาดซึ่งอาจจะมีคณะกรรมการสำหรับพัฒนาหลักสูตรวิชาเรียนสำหรับอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ และมีสำนักงานสำหรับการดำเนินการ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพของเนื้อหาหลักสูตรควบคู่ไปด้วย

3. โรงเรียนต่างๆ ที่เป็นผู้เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต จะต้องมีโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศทุกตำบลเข้าร่วมโครงการ ทั้งกรมสามัญศึกษา และสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ โดยที่ทุกโรงเรียนจะต้องมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่สามารถต่อการใช้อินเทอร์เน็ตได้ด้วยความเร็วที่พอรับได้อย่างเช่น ห้องเรียนละ 40 เครื่องต่อนักเรียน 2000 คน ต้องทำให้ได้อย่างน้อย 8000 โรงเรียนทั่วประเทศ และภายในระยะเวลา 4-6 ปี จะมีนักเรียนได้เรียน16 ล้านคนและจะต้องมีการอบรมครู-อาจารย์ อย่างสม่ำเสมอ
4. การเงินสำหรับโครงการ ในเรื่องนี้สำคัญที่สุด มีผู้มองว่า น่าจะให้เอกชนทดลองทำมากกว่า และเก็บค่าบริการจากนักศึกษา เพราะถ้าจะให้รัฐบาลทำอาจจะไม่สำเร็จได้ เพราะปัญหาเรื่องงบประมาณที่ทำโครงการนี้ ซึ่งใช้งบการลงทุนถึง 30,000 ล้านบาท หรือมากกว่าควรจะมีการบริหารโดยเอกชน แต่ควบคุมมาตรฐานการศึกษาโดยรัฐบาล การศึกษาผ่ทอร์เน็ตนี้ จะช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนมีความเท่าเทียมกันในทางด้านโอกาสการศึกษาซึ่งจะกระจายไปทั่วทุกตำบลของประเทศเมื่อความมหัศจรรย์ของเทคโนโลยีในยุคข้อมูลข่าวสารอย่างอินเทอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลต่อการสื่อสาร ธุรกิจ และชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกขณะ จึงไม่มีข้อยกเว้นใดๆ สำหรับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ที่ได้รับผลจากความเปลี่ยนแปลงนี้แล้วเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันรูปแบบการเรียนการสอนจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่ระบบชั้นเรียนหรือทางไกลแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ยังรวมถึง e-Learning หรือการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจในแวดวงการศึกษา รวมทั้งองค์กรธุรกิจที่ต้องจัดโปรแกรมฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

การออกแบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในการจัดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการเรียนการสอนในห้องเรียน การสอนในห้องเรียนที่ใช้ประโยชน์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นสื่อในการเรียนการสอนในลักษณะที่ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและผู้สอนเหมือนกับอยู่ในห้องเรียนจริงในลักษณะของห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) คือสามารถที่จะเรียนเนื้อหา อภิปราย สัมมนา ซักถามและตอบปัญหาการเรียนโดยการเรียนการสอนกระทำได้ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน (Client) ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (Server) โดยการเชื่อมโยงนี้สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบของการเชื่อมระยะใกล้ผ่านเครือข่ายภายใน (LAN) หรือการเชื่อมโยงระยะไกล (Remote Login) ผ่านโมเด็มก็ได้ การดำเนินการสอนจะดำเนินไปโดยผ่านเว็บไซต์ (Web site) โดยการนำเสนอสื่อในลักษณะของสื่อประสมที่นำเสนอทั้งข้อความ ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว (Graphic Animation) ภาพเคลื่อนไหวเหมือนจริง (Video) เสียง (Sound) และเสียงประกอบ (Effect) โดยผู้เรียนและผู้สอนสามารถมีการปฏิสัมพันธ์แบบในทันทีทันใด เช่น การสนทนาผ่านกลุ่มสนทนา (Chat or IRC) และการปฏิสัมพันธ์แบบไม่ทันทีทันใด เช่น
การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E - mail) การตอบปัญหาผ่านกลุ่มข่าว (News Group)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น