วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555


อินเทอร์เน็ตคือ โลกเสมือนจริง (Cyber Space)
อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ปฏิวัติวิถีชีวิตในโลกนี้อย่างกว้างขวาง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นมากยิ่งกว่าครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพราะกิจกรรมของมนุษย์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำมาหากิน การศึกษาหาความรู้ การพักผ่อนหย่อนใจล้วนเปลี่ยนไปเพราะมีเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต การซื้อขายสินค้าและบริการเกือบทุกอย่างจะกระทำผ่าน อินเทอร์เน็ตในสัดส่วนที่มากขึ้นทุกวันด้วยอัตราการเจริญเติบโตแบบทวีคูณ สื่อข่าวสารและสื่อบันเทิงต่างๆ มีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ต การศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตกำลังจะกลายเป็นรูปแบบปกติของการศึกษาในอนาคตอันใกล้ โลกของอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงโลกเสมือนจริงไม่มีตัวตนให้เราสัมผัสได้ แต่ก็เป็นโลกที่สามารถบันดาลความจริงให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อเราสั่งซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตกับร้านค้าที่ไม่มีอาคาร มีแต่หน้าร้านจำลองบนเว็ปไซต์ สินค้าก็ยังส่งมาถึงเราได้ เราฝากเงินกับธนาคารบนอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้เงินที่ฝากไว้นั้นไปซื้อสินค้าได้ เราลงทะเบียนเรียนกับ "Virtual University" บนอินเทอร์เน็ตเรียนจบเราก็ได้รับปริญญาซึ่งเป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกับปริญญาจากมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตจริง กิจกรรมเสมือนจริง (Virtual Activities) ต่างๆ เหล่านี้นับวันจะมีความแพร่หลายมากขึ้น และนับวันความแตกต่างระหว่าง Virtual กับ Real และระหว่าง Cyber Space กับ Physical Space จะน้อยลงทุกทีแต่ Virtual กับ Cyber จะมีข้อได้เปรียบกว่าอย่างน้อยก็ในเรื่องความประหยัดค่าใช้จ่ายและในเรื่องความไร้พรมแดนจะเห็นได้ว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเสมือน(Virtual) ทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ตให้ผลที่เป็นจริงได้ก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมเข้าด้วยกัน สิ่งเสมือนต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ควรรู้จักได้แก่ (ที่มา : http://www.learn.in.th/distance_edu)
1. การศึกษาเสมือน (Virtual Education)
การศึกษาแบบเดิมต้องอาศัยสถาบันการศึกษาที่มีตัวตนมีสถานที่ มีบุคลากรค่อนข้างมาก แม้แต่การศึกษาทางไกลก็ไม่มีข้อยกเว้น แต่ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เราสามารถจัดการศึกษาเสมือนขึ้นเป็นมิติใหม่ของการศึกษาไร้พรมแดน สถานศึกษาไม่ต้องมีวิทยาเขต ไม่ต้องมีบุคลากรมาก ผู้เรียนจะอยู่แห่งหนตำบลใดก็ได้ และจะเลือกเรียนจากสถาบันแบบเสมือนแห่งใดก็ได้ ผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลาเดินทางก็สามารถเรียนกับสถาบันต่างประเทศได้ในรูปแบบเดิมสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีหลักสูตรของตนเอง นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนวิชาที่เปิดสอนโดยสถาบันที่ตนสังกัดอยู่เท่านั้น จะมีบ้างในบางกรณีที่นักศึกษาได้รับอนุญาตให้ลงทะเบียนเรียนวิชาของสถาบันอื่น แต่นั่นเป็นข้อยกเว้นซึ่งเป็นส่วนน้อย การศึกษาเสมือน (Virtual Education) ของอนาคตจะเปิดกว้างให้นักศึกษาเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาที่เปิดสอนในต่างสถาบันได้มากขึ้นและสะดวกขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีทั้งต่อนักศึกษาและต่อสถาบันเพราะนอกจากจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้นแล้ว ยังทำให้สถาบันต่างๆ สามารถแบ่งปันทรัพยากรบุคคลที่หายากและมีจำกัด ให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างสถาบัน ซึ่งนำไปสู่การประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย สิ่งที่อยากจะขอย้ำในที่นี้คือการศึกษาเสมือนยังใช้อาจารย์ที่เป็นมนุษย์เป็นผู้สร้างบทเรียนและเป็นผู้ดูแลการเรียนการสอน ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์มาทำการสอนอย่างที่บางคนเข้าใจคอมพิวเตอร์ (และอินเทอร์เน็ต) เป็นเพียงสื่อที่นำมาใช้ถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียนเท่านั้นและแม้ว่าในกระบวนการถ่ายทอดนั้น จะมีบางขั้นตอนที่เป็นกระบวนการอัตโนมัติ แต่ตัวความรู้และขั้นตอนอัตโนมัติเหล่านั้นก็ถูกสร้างขึ้นและถูกกำหนดโดยอาจารย์ที่เป็นคนจริงๆ    ข้อดีอีกประการหนึ่งของการศึกษาเสมือนบนอินเทอร์เน็ต คือ ความรู้ไม่จำกัดเพียงเท่าที่สถาบันมี แต่โลก(อินเทอร์เน็ต)ทั้งโลกคือแหล่งความรู้ และเป็นแหล่งความรู้ที่เชื่อมโยงกัน เพียงใช้ปลายนิ้วคลิกเมาส์ก็สามารถเรียกความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่อยู่คนละซีกโลกมาได้แล้ว จุดเน้นของการศึกษาจึงเปลี่ยนไป ไม่ได้อยู่ที่การแสวงหาความรู้มาเก็บใส่ตัว แต่อยู่ที่การเรียนรู้วิธีการค้นหา และแยกแยะข้อมูลที่มีอยู่มากมาย เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการมาเรียบเรียงให้เป็นความรู้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นทักษะที่จะต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนและจะได้มาด้วยการศึกษาด้วยตนเอง (Self Study) เป็นหลัก ไม่ใช่ได้มาโดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ป้อน อนึ่งความรู้ในสมัยนี้ ส่วนมากเป็นความรู้ที่มีอายุการใช้งานจำกัดเมื่อหมดอายุใช้งานแล้วก็ต้องเรียนกันใหม่วิธีการการศึกษาแบบเสมือนผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น เป็นวิธีการที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาหาความรู้แบบต่อเนื่องและการศึกษาตลอดชีวิต (Continuing Education and Life-long Education) (ที่มา:http://www.learn.in.th/distance_edu/body_chapter.html)

2. มหาวิทยาลัยเสมือนจริง (Virtual University)
มหาวิทยาลัยเสมือนจริง คือ มหาวิทยาลัยที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่ ใครเรียนเวลาใดและเรียนจากที่ไหนก็ได้ ในมหาวิทยาลัยเสมือนจริงไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องทดลอง ห้องสมุด ห้องพบปะสนทนา ล้วนเปิดตลอดวันๆ ละ 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเสมือนจริงไม่ต้องเดินทางไปมหาวิทยาลัย และไม่ต้องเสียเวลาหาที่จอดรถ นักศึกษามหาวิทยาลัยเสมือนจริงไม่ต้องแต่งเครื่องแบบไม่ต้องเสียเวลาเลือกชุดเสื้อผ้าที่จะใส่ไปมหาวิทยาลัย ไม่แต่งอะไรเลยก็ยังเรียนที่มหาวิทยาลัยเสมือนจริงได้ เพราะเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะอยู่บนเตียงนอนหรือที่ไหนในบ้านหรือที่ทำงานหลังเวลางานก็ยังเรียนได้ (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2543. ที่มา : http://www.learn.in.th/distance_edu)
3. สถาบันเสมือนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาประเทศ และมีหน้าที่ในการสนับสนุนการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีเพียงพอแก่ความต้องการของประเทศทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ การศึกษาเสมือนผ่านอินเทอร์เน็ตจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดเพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว สวทช. จึงได้จัดตั้งสถาบันเสมือนแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นมีชื่อว่า สถาบันบัณฑิตวิทยศาสตร์และเทคโนโลยีไทย : สบวท. (Thailand Graduate Institute for Sciences and Technology :TGIST) สบวท. ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Consortium) กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศ และได้จัดตั้งเว็ปไซต์ http://www.learn.in.th ขึ้นเพื่อจัดระบบการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต ในลักษณะที่เป็นตลาดนัดสำหรับการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ซึ่งจะเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนวิชากัน และเป็นศูนย์กลางการศึกษาต่อเนื่องสำหรับนักวิชาชีพต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2543. (ที่มา : http://www.learn.in.th/distance_edu/body_chapter.html)
4. มหาวิทยาลัยอิเลคทรอนิกส์ (e-University)
เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ระยะทางไม่มีความหมาย สามารถดำเนินกิจกรรมร่วมกันบนเครือข่ายได้มากมาย ระบบคอมพิวเตอร์ทำให้เราสามารถประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็ว เก็บข้อมูลได้มาก ค้นหาข้อมูลได้สะดวก แลกเปลี่ยนข่าวสารกันอย่างทันทีทันใดในระบบออนไลน์ ทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ขยายตัวและให้บริการได้กว้างขวาง ธุรกิจและบริการดำเนินการแบบ 24 x 7 และขยายตัวเข้าครอบคลุมทุกพื้นที่ได้ เราจึงเรียกระบบเศรษฐกิจแบบนี้ว่า Network Economy หรือ New Economy
สังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ e-Society เป็นการใช้ชีวิตและดำเนินกิจการต่างๆ ด้วยข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มประเทศอาเชียนได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการรวมกลุ่มเพื่อให้เป็นการดำเนินการแบบ e-Asian ประเทศไทยตั้งกลยุทธ์รับด้วยการเตรียมประเทศเข้าสู่ e-Thailand โดยเน้นให้มีกิจกรรมการดำเนินการทางด้านสังคมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพื่อเตรียมการให้สังคมไทยเข้าสู่ e-Society กิจกรรมที่ต้องดำเนินการคือเร่งส่งเสริมให้ภาคเอกชนได้ดำเนินธุรกิจแบบ e-Business และภาคราชการเร่งการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one-stop service) ด้วย e-Government โดยมีกิจกรรมเสริมเพื่อความมั่นใจในการดำเนินการหลายเรื่อง เช่น เร่งออกกฎหมายในเรื่อง e-Signature เพื่อรองรับการใช้ E-Cash ในอนาคต
บทบาทที่สำคัญของมหาวิทยาลัยจึงต้องปรับเปลี่ยนและดำเนินการ เพื่อต้องการให้มีการเรียนรู้ได้มากและรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ การผลิตบุคลากรต้องกระทำได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี กระแสการขาดแคลนกำลังคนทางเทคโนโลยีในประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ทุกประเทศหันมาให้ความสนใจระบบการเรียนรู้แบบใหม่ เสริมกับระบบเดิมที่เรียกว่า e-Learning มีการใช้ไอทีเพื่อการศึกษากันอย่างกว้างขวางและมากมาย เพื่อรองรับระบบการเรียนรู้ที่มีข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลสูง ลงทุนต่ำ และได้ผลในเชิงการกระจายเข้าสู่มวลชนได้มาก ระบบการดำเนินการในมหาวิทยาลัยจึงต้องปรับเปลี่ยนเข้าสู่การดำเนินการแบบ e-University 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น