วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555


อินเทอร์เน็ตคือ โลกเสมือนจริง (Cyber Space)
อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ปฏิวัติวิถีชีวิตในโลกนี้อย่างกว้างขวาง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นมากยิ่งกว่าครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพราะกิจกรรมของมนุษย์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำมาหากิน การศึกษาหาความรู้ การพักผ่อนหย่อนใจล้วนเปลี่ยนไปเพราะมีเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต การซื้อขายสินค้าและบริการเกือบทุกอย่างจะกระทำผ่าน อินเทอร์เน็ตในสัดส่วนที่มากขึ้นทุกวันด้วยอัตราการเจริญเติบโตแบบทวีคูณ สื่อข่าวสารและสื่อบันเทิงต่างๆ มีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ต การศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตกำลังจะกลายเป็นรูปแบบปกติของการศึกษาในอนาคตอันใกล้ โลกของอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงโลกเสมือนจริงไม่มีตัวตนให้เราสัมผัสได้ แต่ก็เป็นโลกที่สามารถบันดาลความจริงให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อเราสั่งซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตกับร้านค้าที่ไม่มีอาคาร มีแต่หน้าร้านจำลองบนเว็ปไซต์ สินค้าก็ยังส่งมาถึงเราได้ เราฝากเงินกับธนาคารบนอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้เงินที่ฝากไว้นั้นไปซื้อสินค้าได้ เราลงทะเบียนเรียนกับ "Virtual University" บนอินเทอร์เน็ตเรียนจบเราก็ได้รับปริญญาซึ่งเป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกับปริญญาจากมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตจริง กิจกรรมเสมือนจริง (Virtual Activities) ต่างๆ เหล่านี้นับวันจะมีความแพร่หลายมากขึ้น และนับวันความแตกต่างระหว่าง Virtual กับ Real และระหว่าง Cyber Space กับ Physical Space จะน้อยลงทุกทีแต่ Virtual กับ Cyber จะมีข้อได้เปรียบกว่าอย่างน้อยก็ในเรื่องความประหยัดค่าใช้จ่ายและในเรื่องความไร้พรมแดนจะเห็นได้ว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเสมือน(Virtual) ทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ตให้ผลที่เป็นจริงได้ก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมเข้าด้วยกัน สิ่งเสมือนต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ควรรู้จักได้แก่ (ที่มา : http://www.learn.in.th/distance_edu)
1. การศึกษาเสมือน (Virtual Education)
การศึกษาแบบเดิมต้องอาศัยสถาบันการศึกษาที่มีตัวตนมีสถานที่ มีบุคลากรค่อนข้างมาก แม้แต่การศึกษาทางไกลก็ไม่มีข้อยกเว้น แต่ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เราสามารถจัดการศึกษาเสมือนขึ้นเป็นมิติใหม่ของการศึกษาไร้พรมแดน สถานศึกษาไม่ต้องมีวิทยาเขต ไม่ต้องมีบุคลากรมาก ผู้เรียนจะอยู่แห่งหนตำบลใดก็ได้ และจะเลือกเรียนจากสถาบันแบบเสมือนแห่งใดก็ได้ ผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลาเดินทางก็สามารถเรียนกับสถาบันต่างประเทศได้ในรูปแบบเดิมสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีหลักสูตรของตนเอง นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนวิชาที่เปิดสอนโดยสถาบันที่ตนสังกัดอยู่เท่านั้น จะมีบ้างในบางกรณีที่นักศึกษาได้รับอนุญาตให้ลงทะเบียนเรียนวิชาของสถาบันอื่น แต่นั่นเป็นข้อยกเว้นซึ่งเป็นส่วนน้อย การศึกษาเสมือน (Virtual Education) ของอนาคตจะเปิดกว้างให้นักศึกษาเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาที่เปิดสอนในต่างสถาบันได้มากขึ้นและสะดวกขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีทั้งต่อนักศึกษาและต่อสถาบันเพราะนอกจากจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้นแล้ว ยังทำให้สถาบันต่างๆ สามารถแบ่งปันทรัพยากรบุคคลที่หายากและมีจำกัด ให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างสถาบัน ซึ่งนำไปสู่การประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย สิ่งที่อยากจะขอย้ำในที่นี้คือการศึกษาเสมือนยังใช้อาจารย์ที่เป็นมนุษย์เป็นผู้สร้างบทเรียนและเป็นผู้ดูแลการเรียนการสอน ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์มาทำการสอนอย่างที่บางคนเข้าใจคอมพิวเตอร์ (และอินเทอร์เน็ต) เป็นเพียงสื่อที่นำมาใช้ถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียนเท่านั้นและแม้ว่าในกระบวนการถ่ายทอดนั้น จะมีบางขั้นตอนที่เป็นกระบวนการอัตโนมัติ แต่ตัวความรู้และขั้นตอนอัตโนมัติเหล่านั้นก็ถูกสร้างขึ้นและถูกกำหนดโดยอาจารย์ที่เป็นคนจริงๆ    ข้อดีอีกประการหนึ่งของการศึกษาเสมือนบนอินเทอร์เน็ต คือ ความรู้ไม่จำกัดเพียงเท่าที่สถาบันมี แต่โลก(อินเทอร์เน็ต)ทั้งโลกคือแหล่งความรู้ และเป็นแหล่งความรู้ที่เชื่อมโยงกัน เพียงใช้ปลายนิ้วคลิกเมาส์ก็สามารถเรียกความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่อยู่คนละซีกโลกมาได้แล้ว จุดเน้นของการศึกษาจึงเปลี่ยนไป ไม่ได้อยู่ที่การแสวงหาความรู้มาเก็บใส่ตัว แต่อยู่ที่การเรียนรู้วิธีการค้นหา และแยกแยะข้อมูลที่มีอยู่มากมาย เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการมาเรียบเรียงให้เป็นความรู้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นทักษะที่จะต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนและจะได้มาด้วยการศึกษาด้วยตนเอง (Self Study) เป็นหลัก ไม่ใช่ได้มาโดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ป้อน อนึ่งความรู้ในสมัยนี้ ส่วนมากเป็นความรู้ที่มีอายุการใช้งานจำกัดเมื่อหมดอายุใช้งานแล้วก็ต้องเรียนกันใหม่วิธีการการศึกษาแบบเสมือนผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น เป็นวิธีการที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาหาความรู้แบบต่อเนื่องและการศึกษาตลอดชีวิต (Continuing Education and Life-long Education) (ที่มา:http://www.learn.in.th/distance_edu/body_chapter.html)

2. มหาวิทยาลัยเสมือนจริง (Virtual University)
มหาวิทยาลัยเสมือนจริง คือ มหาวิทยาลัยที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่ ใครเรียนเวลาใดและเรียนจากที่ไหนก็ได้ ในมหาวิทยาลัยเสมือนจริงไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องทดลอง ห้องสมุด ห้องพบปะสนทนา ล้วนเปิดตลอดวันๆ ละ 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเสมือนจริงไม่ต้องเดินทางไปมหาวิทยาลัย และไม่ต้องเสียเวลาหาที่จอดรถ นักศึกษามหาวิทยาลัยเสมือนจริงไม่ต้องแต่งเครื่องแบบไม่ต้องเสียเวลาเลือกชุดเสื้อผ้าที่จะใส่ไปมหาวิทยาลัย ไม่แต่งอะไรเลยก็ยังเรียนที่มหาวิทยาลัยเสมือนจริงได้ เพราะเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะอยู่บนเตียงนอนหรือที่ไหนในบ้านหรือที่ทำงานหลังเวลางานก็ยังเรียนได้ (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2543. ที่มา : http://www.learn.in.th/distance_edu)
3. สถาบันเสมือนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาประเทศ และมีหน้าที่ในการสนับสนุนการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีเพียงพอแก่ความต้องการของประเทศทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ การศึกษาเสมือนผ่านอินเทอร์เน็ตจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดเพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว สวทช. จึงได้จัดตั้งสถาบันเสมือนแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นมีชื่อว่า สถาบันบัณฑิตวิทยศาสตร์และเทคโนโลยีไทย : สบวท. (Thailand Graduate Institute for Sciences and Technology :TGIST) สบวท. ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Consortium) กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศ และได้จัดตั้งเว็ปไซต์ http://www.learn.in.th ขึ้นเพื่อจัดระบบการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต ในลักษณะที่เป็นตลาดนัดสำหรับการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ซึ่งจะเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนวิชากัน และเป็นศูนย์กลางการศึกษาต่อเนื่องสำหรับนักวิชาชีพต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2543. (ที่มา : http://www.learn.in.th/distance_edu/body_chapter.html)
4. มหาวิทยาลัยอิเลคทรอนิกส์ (e-University)
เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ระยะทางไม่มีความหมาย สามารถดำเนินกิจกรรมร่วมกันบนเครือข่ายได้มากมาย ระบบคอมพิวเตอร์ทำให้เราสามารถประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็ว เก็บข้อมูลได้มาก ค้นหาข้อมูลได้สะดวก แลกเปลี่ยนข่าวสารกันอย่างทันทีทันใดในระบบออนไลน์ ทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ขยายตัวและให้บริการได้กว้างขวาง ธุรกิจและบริการดำเนินการแบบ 24 x 7 และขยายตัวเข้าครอบคลุมทุกพื้นที่ได้ เราจึงเรียกระบบเศรษฐกิจแบบนี้ว่า Network Economy หรือ New Economy
สังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ e-Society เป็นการใช้ชีวิตและดำเนินกิจการต่างๆ ด้วยข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มประเทศอาเชียนได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการรวมกลุ่มเพื่อให้เป็นการดำเนินการแบบ e-Asian ประเทศไทยตั้งกลยุทธ์รับด้วยการเตรียมประเทศเข้าสู่ e-Thailand โดยเน้นให้มีกิจกรรมการดำเนินการทางด้านสังคมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพื่อเตรียมการให้สังคมไทยเข้าสู่ e-Society กิจกรรมที่ต้องดำเนินการคือเร่งส่งเสริมให้ภาคเอกชนได้ดำเนินธุรกิจแบบ e-Business และภาคราชการเร่งการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one-stop service) ด้วย e-Government โดยมีกิจกรรมเสริมเพื่อความมั่นใจในการดำเนินการหลายเรื่อง เช่น เร่งออกกฎหมายในเรื่อง e-Signature เพื่อรองรับการใช้ E-Cash ในอนาคต
บทบาทที่สำคัญของมหาวิทยาลัยจึงต้องปรับเปลี่ยนและดำเนินการ เพื่อต้องการให้มีการเรียนรู้ได้มากและรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ การผลิตบุคลากรต้องกระทำได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี กระแสการขาดแคลนกำลังคนทางเทคโนโลยีในประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ทุกประเทศหันมาให้ความสนใจระบบการเรียนรู้แบบใหม่ เสริมกับระบบเดิมที่เรียกว่า e-Learning มีการใช้ไอทีเพื่อการศึกษากันอย่างกว้างขวางและมากมาย เพื่อรองรับระบบการเรียนรู้ที่มีข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลสูง ลงทุนต่ำ และได้ผลในเชิงการกระจายเข้าสู่มวลชนได้มาก ระบบการดำเนินการในมหาวิทยาลัยจึงต้องปรับเปลี่ยนเข้าสู่การดำเนินการแบบ e-University 

การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา มีองค์ประกอบ 4 ประการหลัก ดังนี้

1. โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา จะต้องมีการวางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศให้ครบทุกตำบล ซึ่งอาจจะใช้โครงการอินเทอร์เน็ตตำบลที่รัฐบาลคิดจะทำ แต่จะให้อยู่ตามโรงเรียนต่าง ๆ ประจำตำบล และที่สำคัญที่สุด คือ รัฐบาลจะต้องให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะและบริการฟรี หรือในราคาที่ถูกที่สุด
2. เนื้อหาหลักสูตรและวิชาเรียน เนื้อหาสำหรับการศึกษาโดยทั่วๆ ไปนั้น กระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่างหลักสูตรสำหรับนักเรียนทั่วทั้งประเทศเป็นตำราเรียนมาแล้ว แต่ในเนื้อหาหลักสูตรที่จะให้มีการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตจะต้องมีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ และจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยตลาดซึ่งอาจจะมีคณะกรรมการสำหรับพัฒนาหลักสูตรวิชาเรียนสำหรับอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ และมีสำนักงานสำหรับการดำเนินการ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพของเนื้อหาหลักสูตรควบคู่ไปด้วย

3. โรงเรียนต่างๆ ที่เป็นผู้เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต จะต้องมีโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศทุกตำบลเข้าร่วมโครงการ ทั้งกรมสามัญศึกษา และสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ โดยที่ทุกโรงเรียนจะต้องมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่สามารถต่อการใช้อินเทอร์เน็ตได้ด้วยความเร็วที่พอรับได้อย่างเช่น ห้องเรียนละ 40 เครื่องต่อนักเรียน 2000 คน ต้องทำให้ได้อย่างน้อย 8000 โรงเรียนทั่วประเทศ และภายในระยะเวลา 4-6 ปี จะมีนักเรียนได้เรียน16 ล้านคนและจะต้องมีการอบรมครู-อาจารย์ อย่างสม่ำเสมอ
4. การเงินสำหรับโครงการ ในเรื่องนี้สำคัญที่สุด มีผู้มองว่า น่าจะให้เอกชนทดลองทำมากกว่า และเก็บค่าบริการจากนักศึกษา เพราะถ้าจะให้รัฐบาลทำอาจจะไม่สำเร็จได้ เพราะปัญหาเรื่องงบประมาณที่ทำโครงการนี้ ซึ่งใช้งบการลงทุนถึง 30,000 ล้านบาท หรือมากกว่าควรจะมีการบริหารโดยเอกชน แต่ควบคุมมาตรฐานการศึกษาโดยรัฐบาล การศึกษาผ่ทอร์เน็ตนี้ จะช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนมีความเท่าเทียมกันในทางด้านโอกาสการศึกษาซึ่งจะกระจายไปทั่วทุกตำบลของประเทศเมื่อความมหัศจรรย์ของเทคโนโลยีในยุคข้อมูลข่าวสารอย่างอินเทอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลต่อการสื่อสาร ธุรกิจ และชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกขณะ จึงไม่มีข้อยกเว้นใดๆ สำหรับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ที่ได้รับผลจากความเปลี่ยนแปลงนี้แล้วเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันรูปแบบการเรียนการสอนจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่ระบบชั้นเรียนหรือทางไกลแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ยังรวมถึง e-Learning หรือการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจในแวดวงการศึกษา รวมทั้งองค์กรธุรกิจที่ต้องจัดโปรแกรมฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

การออกแบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในการจัดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการเรียนการสอนในห้องเรียน การสอนในห้องเรียนที่ใช้ประโยชน์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นสื่อในการเรียนการสอนในลักษณะที่ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและผู้สอนเหมือนกับอยู่ในห้องเรียนจริงในลักษณะของห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) คือสามารถที่จะเรียนเนื้อหา อภิปราย สัมมนา ซักถามและตอบปัญหาการเรียนโดยการเรียนการสอนกระทำได้ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน (Client) ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (Server) โดยการเชื่อมโยงนี้สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบของการเชื่อมระยะใกล้ผ่านเครือข่ายภายใน (LAN) หรือการเชื่อมโยงระยะไกล (Remote Login) ผ่านโมเด็มก็ได้ การดำเนินการสอนจะดำเนินไปโดยผ่านเว็บไซต์ (Web site) โดยการนำเสนอสื่อในลักษณะของสื่อประสมที่นำเสนอทั้งข้อความ ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว (Graphic Animation) ภาพเคลื่อนไหวเหมือนจริง (Video) เสียง (Sound) และเสียงประกอบ (Effect) โดยผู้เรียนและผู้สอนสามารถมีการปฏิสัมพันธ์แบบในทันทีทันใด เช่น การสนทนาผ่านกลุ่มสนทนา (Chat or IRC) และการปฏิสัมพันธ์แบบไม่ทันทีทันใด เช่น
การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E - mail) การตอบปัญหาผ่านกลุ่มข่าว (News Group)


การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  (E-Learning)
วันนี้สิ่งที่เรียกว่า เทคโนโลยีการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต (e-Learning ) ได้พัฒนาล้ำหน้าไปอีกขั้น ปัจจุบันได้นำเสนอทางเลือกใหม่อันชาญฉลาดในการเรียนรู้ช่วยลดข้อด้อย และผสม
ผสานข้อดีของระบบการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนทางไกลเข้าไว้ด้วยกันอย่างน่าอัศจรรย์มีความยืดหยุ่นสูง ยิ่งไปกว่านั้นผู้เรียนยังสามารถเข้าถึงความรู้ในหลากหลายแขนงวิชา ตั้งแต่ภาษาต่างประเทศไปจนถึงวิศวกรรมศาสตร์ สามารถเรียนได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ไม่ต้องเดินทาง ทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนอุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็นมีเพียง 2 อย่างคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเว็บบราวเซอร์ ด้วยเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาล่าสุดนี้สามารถตอบสนองกระบวนการเรียนการสอนทางไกลได้เกือบครบทุกความต้องการ ดังเช่น
- การเรียนเดี่ยวด้วยตนเอง ซึ่งผู้เรียนสามารถกำหนดแผนการเรียนได้ด้วยตัวเอง
(Self-directed) โดยอาศัยสื่อการสอนจากอินเทอร์เน็ต ในระดับนี้จะไม่มีการตอบโต้กับผู้สอนหรือทำกิจกรรมกลุ่มกับผู้เรียนคนอื่นๆ แต่จะมีระบบติดตามพัฒนาการและประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้บริหารหลักสูตร ลักษณะการเรียนเช่นนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสะดวก และสามารถกำหนดกรอบเวลาช้าเร็วที่ใช้ในการเรียนได้เหมาะสมกับระดับความสามารถในการเรียนรู้          - การเรียนแบบนัดหมายเวลา (Synchronous ) ลักษณะการเรียนจะมีบรรยากาศ
ใกล้เคียงกับการเรียนในชั้นเรียนจริงๆ มากที่สุด(ต่างกันเพียงผู้เรียนนั่งอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น) ซึ่งไฮเทคถึงขั้นสามารถสร้างห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) ไว้บนเรียลไทม์อินเทอร์เน็ตได้ ช่วยให้มีความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนการสอนทางไกลเต็มรูปแบบ มีองค์ประกอบครบ ได้แก่ ตัวผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กัน มีสื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบโต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอนสามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการ ประเมินผลการเรียน รวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ แต่ผู้เรียนในชั้นและผู้สอนจะต้องนัดเวลาเรียนอย่างพร้อมเพรียง
- การเรียนแบบไม่ได้นัดหมายเวลา (Asynchronous Learning) จะรวมเอาลักษณะ
การเรียนด้วยตนเองกับการเรียนในระบบชั้นเรียนมาไว้บนอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถกำหนดแผนการเรียนของตนเอง เรียนโดยอาศัยสื่อการสอนจากอินเทอร์เน็ตแล้ว ผู้เรียนยังสามารถถามคำถาม ทำแบบฝึกหัด ทำรายงานกลุ่ม อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เรียนคนอื่นๆและเข้าสู่กระบวนการประเมินผล ซึ่งเหมาะกับหลักสูตรที่เน้นฝึกทักษะ การแก้ไขปัญหาสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา (Trend, 2543, 11-13)

ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง วิธีการเรียนการสอนในรูปแบบของไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ที่ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เป็นสื่อในการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ (Khan H. Badrul. 1997 : 6)

องค์ประกอบของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีองค์ประกอบ ดังนี้
1. การพัฒนาเนื้อหา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอน
1.2 การออกแบบระบบการสอน
1.3 การพัฒนาหลักสูตร
2. มัลติมีเดีย
2.1 ข้อความกราฟิก
2.2 ภาพเคลื่อนไหว
2.3 การออกแบบการปฏิสัมพันธ์
3. เครื่องมือในอินเทอร์เน็ต
3.1 เครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
- แบบไม่ได้นัดหมายเวลา (Asynchronous) เช่น จดหมายอิเล็คทรอนิกส์,
กลุ่มข่าว, ลิสเซิฟ (Listservs) เป็นต้น
- แบบนัดหมายเวลา (Synchronous) เช่น แบบตัวอักษร ได้แก่ Chat, IRC
- แบบเสียงและภาพ ได้แก่ Internet Phone, Net Meeting, Conference Tools
3.2 เครื่องมือในการเชื่อมต่อระยะไกล
- Telnet, File Transfer Protocol เป็นต้น
3.3 เครื่องมือช่วยนำทางในอินเทอร์เน็ต (ฐานข้อมูลและเว็บเพจ)
- Gopher, Lynx เป็นต้น
3.4 เครื่องมือช่วยค้นและเครื่องมืออื่น ๆ
- Search Engine, Counter Tool
4. เครื่องมือคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบ และซอฟต์แวร์
4.1 ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น Unix, Windows NT, Windows 98, Dos ฯลฯ
4.2 ซอฟต์แวร์ให้บริการเครือข่าย ฮาร์ดิสก์ ซีดีรอม เป็นต้น
5. อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
5.1 โมเด็ม
5.2 รูปแบบการเชื่อมต่อ ความเร็ว 33.6 Kbps, 56 Kbps, สายโทรศัพท์, ISDN, T1, Satellite เป็นต้น
5.3 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต , เกตเวย์
6. เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม
6.1 โปรแกรมภาษา (HTML : Hypertext Markup Language , JAVA ,
JAVA Script , CGI Script , Perl , Active X)
6.2 เครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรม เช่น FrontPage, FrontPage Express,
Hotdog, Home site เป็นต้น
7. ระบบให้บริการอินเทอร์เน็ต
7.1 HTTP Servers , Web Site , URL
7.2 CGI (Common Gateway Interface)
8. บราวเซอร์

การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต (e-Learning)

อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีส่วนกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในสังคมมากขึ้น สถาบันการศึกษาทุกแห่งให้ความสนใจในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น การเรียนการสอนในปัจจุบันจึงเปลี่ยนสภาพไปค่อนข้างมาก นิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนด้วยกันทั้งสิ้น การเรียนการสอนก็เหมือนกับธุรกิจทั่วไปที่ต้องปรับตัวให้ทันกับการแข่งขัน ปัจจุบันมีแหล่งความรู้เกิดขึ้นมากมาย มีสิ่งที่จะต้องเรียนต้องสอนมหาศาล ทำอย่างไรจึงจะลงทุนทางด้านการศึกษาน้อยแต่ได้ผลตอบแทนสูง การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการเรียนรู้จะทำได้อย่างไร การเรียนรู้สมัยใหม่ต้องใช้เวลาน้อย เรียนรู้ได้เร็ว มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน รวมถึงการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันตอบสนองต่อการประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

            แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ   สังคม และการเมือง  มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ  ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
ต่อไปนี้
            1.  การรวมตัวของสื่อ  เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น  การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ   การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
ข้อมูล  เป็นต้น 
1.      สื่อขนาดเล็ก  สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยูในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์
ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น  กล้องถ่ายวีดิทัศน์  การผลิตแผ่นซีดี   ฯลฯ
            3.  ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์  เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
2.      ระบบสื่อสารโทรคมนาคม    ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก
โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง โดยที่ผุ้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์ (Video Teleconference)
3.      อินเทอร์เน็ต  และเวิร์ล ไวด์ เว็บ  อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
มากครอบคลุมไปทั่วโลกและให้บริการแก่ผู้ใช้ได้หลายสิบล้านคนทั่วโลกในบริการต่าง ๆ กัน
            6.  ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)  เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง

อินเทอร์เน็ต  (Internet)
            อินเทอร์เน็ต  คือ  ระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล เช่นการบันทึกเข้าระยะไกล การถ่ายดอนแฟ้ม ฯลฯ
            อินเทอร์เน็ต คือ  ข่ายของข่ายงาน (network of networks)  เนื่องจากเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยที่อินเทอร์เน็ตตั้งอยู่ในไซเบอร์สเปซ  ซึ่งเป็นจักรวาลที่สร้างขึ้นโดยระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าไปอยู่ในไซเบอร์สเปซได้ โดยใช้โมเด็มและติดต่อกับผู้ใช้คนอื่นได้
           
            การใช้งานในอินเทอร์เน็ต
            เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานได้มากมายหลากหลายประเภทดังนี้
            1.  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (Electronics Mail : E-Mail) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า อี-เมล์ เป็นการรับส่งข้อความผ่านขายงานคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถส่งข้อความจากข่ายงานที่ตนใช้อยู่ไปยังผู้รับอื่น ๆ ได้ทั่วโลก
2.      การถ่ายโอน (File Transfer Protocol : FTP)  เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลประเภท
ต่าง ๆ จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมาบรรจุลงไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา
3.      การขอเข้าใช้ระบบจากระยะไกล โปรแกรมที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตเพื่อการขอเข้าไปใช้
ระบบจากระบบโปรแกรมหนึ่งที่รู้จักกันดี คือ เทลเน็ต (Telnet)  เป็นการให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้ทรัพยากรหรือขอใช้บริการจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
4.      การค้นหาแฟ้ม  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นระบบขนาดใหญ่ที่ครอบคลลุมกว้างขวาง
ทั่วโลก โดยมีแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ มากมายอยู่ในระบบผู้ใช้สามารถสืบค้นมาใช้งานได้
5.      การค้นหาข้อมูลด้วยระบบเมนู เป็นการใช้ในระบบยูนิกซ์เพื่อค้นหาข้อมูลและขอใช้
บริการข้อมูลด้วยระบบเมนู
6.      กลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าว (Newsgroup)  เป็นการรวมกลุ่มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่
สนใจเรื่องเดียวกันแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือแนวคิดกัน
7.      บริการสารสนเทศบริเวณกว้าง (เวส)  (Wide Area Information Server : WAIS) 
เป็นผลการใช้เวสเพื่อเชื่อมโยงศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในข่ายงานอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน
8.      การสนทนาในข่ายงาน (Internet Relay Chat : IRC)  เป็นการสนทนากันของผู้ใช้โดย
มีการโต้ตอบกันทันทีโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันผ่านเครือข่าย
9.      สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publisher)  หนังสือพิมพ์ วารสาร และนิตยสาร
เช่น TIME,ELLE โดยบรรจุเนื้อหาลงไปในเว็บไซต์ของตน
10.  เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW)  หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า เว็บเป็นการสืบค้น
สารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติโดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง

อินเทอร์เน็ตในการศึกษา
เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาได้หลายรูปแบบ ได้แก่
1.      การค้นคว้า เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานที่รวมข่ายงานต่าง ๆ มากมายไว้
ด้วยกันจึงทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลก
2.      การเรียนและติดต่อสื่อสาร   ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนติด
ต่อสื่อการกันได้โดยที่ผู้สอนจะเสนอเนื้อหาบทเรียนโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้เรียนเปิดอ่านเรื่องราวและภาพประกอบที่เสนอในแต่ละบทเรียน
3.      การศึกษาทางไกล  การใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาทางไกลอาจจะใช้ในรูปแบบของ
การสื่อสาร โดยการใช้บทเรียนที่อยู่ในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แทนหนังสือเรียน
4.      การเรียนการสอนอินเทอร์เน็ต  เป็นการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถใช้
โปรแกรมต่าง ๆ เพื่อทำงานในอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.      การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต  เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตในกิจกรรมการเรียนการสอนใน
ระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เช่น การจัดตั้งโครงการร่วมระหว่างสถาบันการศึกษาเพื่อแลก
เปลี่ยนข้อมูลหรือการสอนในวิชาต่างๆ 

นวัตกรรมการศึกษาที่น่าสนใจ

การนำนวัตกรรมมาใช้ในวงการศึกษาเรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ  สื่อหลายมิติ เป็นต้น

สื่อประสม  (Multi Media)
            สื่อประสม  หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการพลิกหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียง
            จากความหมาย ของคำว่าสื่อประสม นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น
2 กลุ่ม  คือ
·       สื่อประสม (Multimedia 1)  เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วม
กันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน และจะมีลักษณะเป็น สื่อหลายแบบ
·       สื่อประสม (Multimedia 2)  เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสาร
สนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ เชนภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง

การนำสื่อประสมมาใช้ในการศึกษา

            สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลาย ๆ ประการ เช่น  เป็นการดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียน   เป็นการให้สารสนเทศที่หลากหลาย  สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบยั้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้   ซึ่งเราสามารถใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น
1.      เป็นเกมเพื่อการศึกษา  คือ การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ
เกมต่าง ๆ จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น คำศัพท์ ความหมายของวัตถุ แผนที่ทางภูมิศาสตร์  การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ ฯลฯ 
            เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่ เกม ชื่อ  Where in the World is Carmen Sandiago  เป็นต้น
2.      การสอนและการทบทวน  คือ การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีด้วยการ
หลายรูปแบบ เช่น การฝึกสะกดคำ การคิดคำนวณ และการเรียนภาษา ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย  เช่น การเรียนภาษาต่างๆ
3.      สารสนเทศอ้างอิง   คือ  สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะ
บรรจุอยู่ในแผ่นซีดี รอม เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภทอาทิเช่น สารนุกรม  พจนานุกรม แผนที่โลก ปฏิทินประจำปี สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ

สื่อหลายมิติ  (HyperMedia) 
สื่อหลายมิติ  คือ  การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม

ลักษณะของข้อความหลายมิติ (Hypertext)
                 ข้อความหลายมิติ (Hypertext)  เป็นระบบย่อยของ สื่อหลายมิติ(Hypermedia)  เป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม   โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจในตอนใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ (น้ำทิพย์  วิภาวิน, 2542 : 53 ; วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)  ลักษณะของ Hypertext ที่เห็นกันโดยทั่วไป เช่น   Help  ของ Windows  ซึ่งจะมีข้อความอธิบายในเรื่องหนึ่งอยู่  แต่เมื่อมีคำเฉพาะหรือคำที่สามารถอธิบายในรายละเอียดได้อีก  คำนั้นจะถูกเชื่อมไปยังข้อความหรือไฟล์อีกไฟล์หนึ่งเพื่อให้ผู้ใช้เรียกดู (ธนะพัฒน์  ถึงสุข และ 
ชเนนทร์  สุขวารี, ..: 84)
รูปแบบของข้อความหลายมิติมีลักษณะของการเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นเส้นตรงในมิติเดียว ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อหาข้อมูลในมิติอื่น ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามเนื้อหา ทั้งนี้เพราะ ข้อความหลายมิติมีการตัดข้อมูลเป็นส่วนย่อยเป็นตอน ๆ เรียกว่า จุดต่อ”  (nodes)  และเมื่อผู้อ่านเรียกจุดต่อขึ้นมาอ่านเราเรียกว่า การเลือกอ่าน” (browse) 
จุดต่อที่ผู้อ่านจะเรียกมาใช้อ่านนั้นก็เมื่อจุดต่อนั้นมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือเนื้อหาที่กำลังอ่านอยู่นั้น จุดต่ออาจจะประกอบด้วยคำเพียง 2 – 3 คำ หรือเป็นข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นก็ได้
การติดต่อกันของจุดต่อนี้เกิดจากการ เชื่อมโยง” (link)  ซึ่งผู้อ่านสามารถกระโดดข้ามจากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการคลิกเมาส์ที่ ปุ่ม” (button) ซึ่งอาจทำไว้ในลักษณะตัวอักษรดำหนา ตัวอักษรสี ตัวขีดเส้นใต้ แถบดำ จุดดำ สัญลักษณ์ เช่น อาจเป็นรูปตาถ้าต้องการแสดงจุดต่อของรูปภาพ หรือทำเป็นรูปลำโพง หรือไมโครโฟนเพื่อเสนอเสียงพูดหรือเสียงดนตรีก็ได้
ข้อมูลที่บรรจุในข้อความหลายมิติอาจเปรียบเทียบได้เสมือนกับเป็นบัตรหรือแผ่นฟิล์มใสหลาย ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ (stacks)  ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้ โดยที่แผ่นแรกจะเป็นข้อมูลเริ่มต้นเพื่อให้อ่านและสามารถใช้เป็นรายการเพื่อพาดพิงหรือค้นคว้าไปถึงข้อมูลในแผ่นอื่น ๆ ต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมย่อย ๆ หรือจุดต่อนี้จะปรากฏในกรอบเล็กหรือหน้าต่างเพื่ออธิบายข้อมูลเริ่มต้นนั้นให้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น และจะดึงออกมาได้มากน้อยเท่าไรก็ได้ตามความต้องการต่อจากนั้นผู้อ่านก็สามารถข้ามไปอ่านเนื้อหาข้อมูลที่สนใจต่อไปได้ และสามารถดึงจุดต่อออกมาใช้ได้ทุกเวลาตามต้องการ
จากความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติที่ได้ทราบไปแล้วนั้นว่าจะเสนอข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพกราฟิกอย่างง่าย ๆ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาข้อความหลายมิติให้สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลายประเภทขึ้นจึงได้ชื่อว่าเป็น ไฮเปอร์มีเดีย” (Hypermedia)  หรือตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานว่า สื่อหลายมิติ
สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม (กิดานันท์  มลิทอง.  2540: 269)
            สื่อหลายมิติ (Hypermedia)  เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ  เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (น้ำทิพย์  วิภาวิน, 2542 : 53)  Hypermedia  เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext  อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน (วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)

              จุดประสงค์ของการใช้สื่อหลายมิติ ( Hypermedia)

1.      ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น (Browsing)  สืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ
2.      ใช้เพื่อการการเชื่อมโยง (Linking)  โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลต่างๆ ภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอก เช่น การเชื่อมต่อกับ Intranet    Internet  เป็นต้น
3.      ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring)   สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
                 (วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 56)

สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน

จากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่าง ๆ แล้วในปัจจุบัน
ตัวอย่างการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน เช่น โรงเรียนฟอเรสต์ฮิลล์  เมืองแกรนด์ แรพิดส์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้ใช้สื่อหลายมิติตั้งแต่ปี ค.. 1990 เป็นต้นมา โดยใช้ในลักษณะบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนได้ร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าหาเนื้อหาข้อมูลจากห้องสมุดแล้วรวบรวมภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงจากแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล แล้วทำการสร้างบทเรียนโดยการใช้  Hypercard  และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการบันทึกข้อมูลเช่น ใช้เครื่องกราดภาพในการบันทึกภาพถ่าย  ส่วนภาพเคลื่อนไหวและเสียงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์ และเนื้อหาบางส่วนบันทึกจากแผ่นซีดี รอมด้วย  เนื้อหาถูกเชื่อมโยงโดย ปุ่มเพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยการเลือกเรียนและศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ นอกจากนี้ ยังมีการเขียนบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น ToolBook และ AuthorWare  ด้วย

ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
1.      เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
2.      ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
-          ดูแผนภาพหรือภาพวาด
-          ดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
-          ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
3.      ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
4.      ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map)  ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
5.      สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
6.      ใช้แผนที่ระบบ (system map)  เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป